วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

ป้ายจราจรประเภทบังคับ

ป้ายบังคับแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. ป้ายบังคับที่แสดงความหมายตามรูปแบบ และลักษณะที่กำหนด
  2. ป้ายบังคับที่แสดงด้วยข้อความ หรือสัญลักษณ์ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน



ป้าย "ให้ทาง" ผู้ขับขี่ต้องระมัดระวัง และให้ทางแก่รถ หรือ คนเดินเท้าบนทางขวาง ข้างหน้าผ่านไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรที่บริเวณทางแยกนั้นแล้ว จึงเคลื่อนรถต่อไปได้ด้วยความระมัดระวัง


ป้าย "ให้รถสวนทางมาก่อน" ผู้ขับขี่ต้องหยุดรถตรงตำแหน่งที่ติดตั้งป้าย และรอให้รถที่กำลังสวนทางมา ผ่านไปก่อนหากมีรถข้างหน้าหยุดรออยู่ก่อน ก็ให้หยุดรอถัดต่อมาตามลำดับ เมื่อรถที่สวนทางมาผ่านไปหมดแล้ว จึงเคลื่อนรถที่หยุดตรงป้ายนี้ผ่านไปได้

ป้าย "ห้ามแซง" ห้ามขับรถแซงขึ้นหน้ารถคันอื่นในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

ป้าย "ห้ามเข้า" ห้ามรถทุกชนิดเข้าไปในทิศทางที่ติดตั้งป้าย

ป้าย"ห้ามเลี้ยวซ้าย" ห้ามเลี้ยวรถไปทางซ้าย

ป้าย "ห้ามเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางซ้าย" ห้ามเปลี่ยนช่องเดินรถ หรือช่องจราจรไปทางซ้าย

ป้าย"ห้ามเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวา" ห้ามเปลี่ยนช่องเดินรถหรือช่องขราจรไปทางขวา

ป้าย"ห้ามเลี่ยวซ้ายหรือกลับรถ" ห้ามเลี้ยวรถไปทางด้านซ้ายหรือกลับรถ
ป้าย"ห้ามเลี้ยวขวาหรือกลับรถ" ห้ามเลี้ยวรถไปทางขวาหรือกลับรถ 

ป้าย"ห้ามรถยนต์ผ่าน" ห้ามรถยนต์ทุกชนิดผ่านเข้า-ออก ในเขตทางที่ติดตั้ง ป้าย

ป้าย"ห้ามรถบรรทุกผ่าน" ห้ามรถบรรทุก ทุกชนิด ผ่านเข้า-ออก ในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

ป้าย"ห้ามรถจักรยานยนต์ผ่าน" ห้ามรถจักรยานยนต์ ทุกชนิดผ่านเข้า-ออก ในเขตทางที่ติดตั้งป้าย

ป้าย" ห้ามรถพ่วงผ่าน" ห้ามรถพ่วงหรือรถกึ่งพ่วงทุกชนิด ผ่านเข้า- ออก ในเขตทางที่ติดตั้งป้าย 



ป้ายจราจรที่ควรทราบ

ป้ายจราจรแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  1. ป้ายบังคับ ได้แก่ ป้ายจราจรที่มีความหมายเป็นการบังคับให้ผู้ใช้ทางปฏิบัติตามเครื่องหมายที่ปรากฏอยู่ในป้ายนั้น โดยให้ผู้ใช้ทางต้องกระทำ งดเว้นการกระทำ หรือจัดกัดการกระทำ ในบางประการ หรือบางลักษณะ
  2. ป้ายเตือน ได้แก่ ป้ายจราจรที่มีความหมายเป็นการเตือน ผู้ใช้ทางให้ทราบล่วงหน้าถึงสภาพทาง หรือข้อมูลบางอย่าง ที่เกิดขึ้นในทางข้างหน้า ซึ่งอาจะเป็นอันตราย หรือเกิดอุบัติเหตุ ขึ้นได้ เพื่อให้ผู้ใช้ทางระมัดระวังในการใช้ทาง
  3. ป้ายแนะนำ ได้แก่ ป้ายจราจรที่มีความหมายเป็นการแนะนำ ใหผู้ใช้ทางทราบข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทาง และการจราจร เช่นเส้นทางที่จะใช้ ทิศทาง ระยะทาง สถานที่ เพื่อประโยชน์ในการเดินทาง และการจราจร

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

อุบัติเหตุ

Q ผู้ขับรถ หรือ ขี่ หรือควบคุมสัตว์ในทาง ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่ หรือไม่ก็ตาม ต้องปฏิบัติอย่างไร
A  ต้องหยุดรถ หรือสัตว์ และให้ความช่วยเหลือตามสมควร พร้อมแสดงตัว และแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ ที่ใกล้เคียงทันที กับต้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของตน และหมายเลขทะเบียนรถให้แก่ผู้เสียหายด้วย ให้สันนิ และถ้าไม่ปฏิบัติตามโดยหลบหนีไปหรือไม่แสดงตัวต่อเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่เกิดเหตุให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำความผิด

การลากรถ หรือการจูงรถ

Q การลากรถ หรือการจูงรถ สามารถปฏิบัติได้กี่วิธี
A  2 วิธี ได้แก่การใช้สายพ่วง และการใช้รถยก ดังนี้

  1. การใช้สายพ่วง ต้องมีความยาวตั้งแต่ 3 เมตร แต่ไม่เกิน  5 เมตร
  2. การใช้รถยก ใช้วิธีการยกล้อหน้า ยกล้อหลัง หรือ ยกทั้งคันรถ แล้วแต่กรณี

รถฉุกเฉิน


Q เมื่อผู้ขับรถพบรถฉุกเฉินกำลังปฏิบัติหน้าที่ จะต้องปฏิบัติอย่างไร
A  ต้องหยุดรถ หรือจอดรถให้ชิดขอบทางด้านซ้าย หรือในกรณี ที่มีช่องทางเดินรถประจำทางอยู่ทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถต้องหยุดรถ หรือจอดรถให้ชิดช่องเดินรถประจำทาง แต่ห้ามหยุดหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก และห้ามขับรถตามหลังรถฉุกเฉินในระยะ 50 เมตร

การขับรถผ่านทางร่วมทางแยก หรือวงเวียน


Q เมื่อผู้ขับขี่ขับรถมาถึงทางร่วมทางแยก จะต้องปฏิบัติอย่างไร
A  

  1. ถ้ามีรถคันอื่นอยู่ในทางร่วมทางแยก ต้องให้รถที่อยู่ในทางร่วมทางแยกขับผ่านไปก่อน
  2. ถ้ามาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกัน ไม่มีรถอยู่ในทางร่วมทางแยก ให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของตนขับผ่านไปก่อนเว้นแต่มีทางเอกตัดกับทางโท ผู้ขับรถในทางเอกมีสิทธิใช้ทางก่อน




Q เมื่อผู้ขับรถมาถึงวงเวียน จะต้องปฏิบัติอย่างไร
A  ในวงเวียนที่มิได้ติดตั้งสัญญาน หรือเครื่องหมายจราจรไว้ ต้องให้ผู้ขับรถในวงเวียน หรือรถที่มาทางด้านขวาของตนผ่านไปก่อน




Q ทางเดินรถทางเอก ได้แก่ทางเดินรถอย่างไร
A  

  1. ทางเดินรถที่ได้ติดตั้งเครื่องหมายจราจร แสดงว่าเป็นทางเอก 
  2. ทางเดินรถที่มีป้าย "หยุด" หรือมีป้ายคำว่า "ให้ทาง" ติดตั้งไว้ หรือทางเดินรถที่มีคำว่าหยุด หรือเส้นหยุด ซื่งเป็น เส้นขาวทึบ หรือเส่้นให้ทาง ซึ่งเป็นเส้นสีขาวประบนผิวทางให้ทางเดินรถที่ขวางข้างหน้าเป็นทางเดินรถทางเอก
  3. ให้ทางเดินรถที่มีช่องเดินรถมากกว่าเป็นทางเดินรถทางเอก 
  4. ถนนที่ตัด หรือบรรจบกันกับตรอก หรือซอยให้ทางเดินรถ ที่เป็นถนนเป็นทางเดินรถทางเอก


ข้อกำหนดเกี่ยวกับความเร็วของรถ


Q ความเร็วของรถที่วิ่งในเขตเทศบาล กรุงเทพ เมืองพัทยา ใช้ความเร็วได้ไม่เกินเท่าไร
A  ไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง



Q ความเร็วของรถที่วิงนอกเขตเทศบาล กรุงเทพ ฯ เมืองพัทยา ใช้ความเร็วได้ไม่เกินเท่าไร
A  ไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง




การหยุดรถ และจอดรถ

Q  การหยุดรถ และ จอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับรถต้องให้สัญญานมือและแขน หรือสัญญานไฟก่อนจะหยุดหรือจอดในระยะไม่น้อยกว่ากี่เมตร
A  ไม่น้อยกว่า 30 เมตร




Q  การจอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ จะต้องจอดรถขนานชิดขอบทาง หรือไหล่ทางในระยะไม่ห่างเกินเท่าไร
A  ไม่เกิน 25 เซนติเมตร




Q ห้ามหยุดรถในบริเวณใด
A  

  1. ในช่องทางเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ ในกรณีไม่มีช่องเดินรถประจำทาง
  2. บนทางเท้า
  3. บนสะพาน หรือในอุโมงค์
  4. ในทางร่วมทางแยก
  5. ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
  6. ตรงปากทงเข้า-ออกของอาคาร หรือทางเดินรถ
  7. ในเขตปลอดภัย
  8. ในลักษณะกีดขวางการจราจร

การออกรถ การเลี้ยวรถ และการกลับรถ

Q  การขับรถออกจากที่จอด ถ้ามีรถจอดอยู่ข้างหน้า หรือ มีสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้า ผู้ขับรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร
A  ต้องให้สัญญานด้วยมือและแขน หรือให้ไฟสัญญาน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยจึงขับรถออกไปได้




Q  ผู้ขับรถที่จะเลี้ยวซ้าย ต้องปฏิบัติอย่างไร
 
  1. ในกรณีที่ไม่ได้แบ่งช่องเดินรถไว้ ผู้ขับรถต้องขับรถชิดทางเดินรถด้านซ้าย
  2. ในกรณีที่มีการแบ่งช่องเดินรถไว้ และมีเครื่องหมายจราจรแสดงให้เลี้ยวซ้ายได้ ให้ผู้ขับรถต้องอยู่ในช่องทางเดินรถที่จะเลี้ยวซ้าย
  3. ในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ทางเดินรถด้านซ้ายสุดให้ผู้ขับรถต้องขับรถชิดช่องเดินรถประจำทางก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร และจะเลี้ยวรถผ่านเข้าไปในช่องเดินรถประจำทางได้ เฉพาะในบริเวณที่มีเครื่องหมายจราจรให้เลี้ยวรถผ่านได้เท่านั้น



Q  ผู้ขับรถที่จะเลี้ยวขวา ต้องปฏิบัติอย่างไร
A
  1. ในกรณีทางเดินรถที่ไมด่ได้แบ่งช่องทางเดินรถไว้ให้ ผู้ขับรถต้องขับรถชิดทางด้านขวาของแนวกึ่งกลางของทางเดินรถก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร
  2. ในกรณีมีทางเดินรถที่ได้แบ่งช่องทางเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องทางขึ้นไป ให้ผู้ขับรถต้องขับรถชิดทางด้านขวาสุดของทางเดินรถ หรือในช่องที่มีเครื่องหมายจราจรให้เลี้ยวขวาได้ก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร
  3. ในกรณีรถอยู่ทางร่วมทางแยก ผู้ขับรถต้องให้รถที่สวนทางมาในทางเดีนรถเดียวกันผ่านไปก่อน จึงเลี้ยวขวาได้


วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

การขับรถแซง และผ่านขึ้นหน้า


Q  ผู้ขับรถจะขับรถแซง เพื่อขึ้นหน้ารถอื่นในทางเดินรถ ซึ่งไม่ได้แบ่งช่องทางเดินรถไว้ จะต้องปฏิบัติอย่างไร
A  จะต้องให้สัญญานไฟโดยกระพริบไฟหน้าหลายครั้ง หรือ ให้ไฟสัญญานเลี้ยวขวา หรือให้เสียงสัญญานดังพอที่จะให้ผู้ขับรถคันหน้าให้สัญญานตอบ และเมือเห็นว่าไม่เป็นการกีดขวางรถอื่นที่กำลังแซงแล้ว จึงแซงขึ้นหน้าได้


Q  ในการขับรถแซงรถคันหน้า จะต้องแซงด้านใด
A  การแซงต้องแซงด้านขวา โดยมีระยะห่างจากรถที่ถูกแซง พอสมควรเมื่อเห็นว่าได้ขับผ่านขึ้นหน้ารถที่ถูกแซงไปในระยะที่ห่างเพียงพอแล้ว จึงขับชิดด้านซ้ายของทางเดินรถ


การขับรถ


Q ในการขับรถ ผู้ขับรถต้องขับรถในทางเดินรถอย่างไร
A  ทางด้านซ้าย และต้องไม่ล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถ


Q ผู้ขับรถสามารถขับรถในทางเดินรถด้านขวา หรือ ล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถได้ในกรณีใดบ้าง
A
  1. ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง หรือถูกปิดการจราจร 
  2. ทางเดินรถนั้น เจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็น ทางเดินรถทางเดียว
  3. ทางเดินรถนั้นกว้างไม่ถึง 6 เมตร

Q ในกรณีที่ทางเดินรถได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ ตั้งแต่สองช่องทางขึ้นไป หรือที่ได้จัดช่องเดินรถประจำทางไว้ในช่องเดินรถซ้ายสุด ผู้ขับรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร
A  ผู้ขับรถต้องขับรถในช่องทางซ้ายสุด หรือใกล้กับช่องทางเดินรถประจำทาง เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ให้เดินรถทางด้านขวา ของทางเดินรถได้
  1. ในช่องเดินรถนั้นมีสิ่งกีดขวาง หรือถูกปิดการจราจร
  2. ทางเดินรถนั้น เจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว
  3. จะต้องเข้าช่องทางให้ถูกต้องเมื่อเข้าบริเวณใกล้ทางร่วมแยก
  4. เมื่อจะแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น
  5. เมื่อผู้ขับรถ ที่ขับรถด้วยความเร็วสูงกว่ารถในช่องเดินรถด้านซ้าย

สัญญานจราจร และเครื่องหมายจราจร


Q ผู้ขับรถต้องปฏิบัติตามสัญญานไฟจราจรอย่างไร


  1. สัญญานจราจรไฟสีเหลืองอำพัน ให้ผู้ขับรถชะลอความเร็ว หรือลดความเร็ว เพื่อเตรียมหยุดหลังเส้นให้รถหยุด เว้นแต่ผู้ขับรถที่ได้ขับรถเลยเส้นให้รถหยุดไปแล้ว ให้ขับผ่านไปได้
  2. สัญญานจราจรไฟสีแดง ให้ผู้ขับรถหยุดรถ หลังเส้น ให้รถหยุด
  3. สัญญานจราจรไฟสีเขียว ให้ผู้ขับรถ ขับรถต่อไปได้ เว้นแต่มีเครื่องหมายจราจรกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
  4. สัญญานจราจรไฟกระพริบสีเหลืองอำพัน ให้ผู้ขับรถลดความเร็วของรถลง และขับผ่านทางเดินรถนั้นไปด้วยความระมัดระวัง
  5. สัญญานจราจรไฟกระพริบสีแดง ให้ผู้ขับรถหยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด เมื่อเห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวางการจราจรแล้ว จึงให้ขับผ่านไปด้วยความระมัดระวัง

Q การหยุดรถ กรณีในทางเดินรถ ไม่มีเส้นให้หยุดรถ ผู้ขับรถต้องหยุดรถ ห่างจากพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่น้อยกว่าเท่าไร
A  ไม่น้อยกว่า 3 เมตร




เมื่อผู้ขับรถพบสัญญานไฟ และสัญญานของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมการจราจรในทางเดินรถนั้น ผู้ขับรถต้องปฏิบัติตามสัญญานใด
สัญญานที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด



Q   ผู้ใดมีอำนาจในการทำ ติดตั้ง หรือทำให้ปรากฎ ซึ่งสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจรในทาง
พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าพนักงานที่อธิบดีกำหนด



Q  ผู้ขับขี่จะต้องเปิดไฟ หรือแสงสว่างเวลาใด
ในเวลาที่แสงดสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็นคน รถ หรือ สิ่งกีดขวางในทางได้โดยชัดแจ้ง ภายในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร



Q  ผู้ขับขี่ห้ามใช้สัญญานไฟ และเสียงสัญญานจากรถอย่างไร
ห้ามใช้สัญญานแสงวับวาบ เสียงสัญญานไซเรน เสียงสัญญานที่เป็นเสียงนกหวีด เสียงที่แตกพร่า เสียงหลายเสียง หรือเสียงที่ดังเกินควร



Q  รถที่สามารถใช้สัญญานแสงวับวาบ หรือใช้เสียงสัญญานไซเรน ได้แก่รถอะไร
รถฉุกเฉิน รถที่ใช้ในราชการทหาร หรือตำรวจ



Q  การใช้เสียงสัญญาน ผู้ขับขี่จะใช้เมื่อใด
เมื่อจำเป็น หรือป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น



Q  รถที่บรรทุกของ ยื่นเกินความจาวของตัวรถทางด้านหลังที่ไม่ให้เกิน 2.50 เมตร จะต้องให้สัญญานอย่างไร
ในเวลากลางวันต้องติดธงสีแดง  ขนาด  30x45 เซนติเมตร ที่ตอนปลายสุดของสิ่งของที่บรรทุกนั้น และในเวลากลางคินต้องติดไฟสัญญานสีแดงให้มองเห็นได้ ในระยะไม่น้อยกว่า  150 เมตร



Q  เมื่อผู้ขับขี่พบสัญญานไฟจราจรสีเหลืองอำพัน จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ให้ผู้ขับขี่เตรียมหยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด เว้นแต่ผู้ขับขี่ที่ได้เลยเส้นให้รถหยุดไปแล้วให้เลยไปได้่



Q  เมื่อผุ้ขับขี่พบสัญญานไฟจราจรสีแดง จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ให้ผู้ขับขี่หยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด




Q  เมื่อผู้ขับขี่พบสัญญญานจราจรไฟกระพริบสีแดง จะต้องปฏิบัติอย่างไร
หยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด เมื่อเห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวางการจราจรแล้ว จึงให้ขับรถต่อไป ด้วยความระมัดระวัง



Q  เมื่อผุ้ขับขี่พบสัญญานจราจรไฟกระพริบสีเหลืองอำพัน จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วของรถลง และขับรถผ่านทางเดินรถนั้น ไปด้วยความระมัดระวัง



Q  เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และเหยียดแขนซ้ายออไปเสมอ ระดับไหล หมายความว่าอย่างไร

A ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านหลัง ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องหยุดรถ




Q  เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบน และตั้งฝ่ามือขึ้น หมายความว่าอย่างไร

ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านหน้า ของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ



Q  เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบน และตั้งฝ่ามือขึ้น ส่วนแขนซ้ายเหยียดออก ไปเสมอระดับไหล่ หมายความว่าอย่างไร

ผู้ขับขี่ซึ่งขับมาทางด้านหน้า และด้านหลังของพนักงาน เจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ







การบรรทุก




Q รถยนต์ บรรทุกสิ่งของที่มีขนาดความยาวได้ไม่เกินเท่าไร
A ด้านหน้าไม่เกินกันชนหน้า หรือหน้าหม้อรถ ด้านหลังยื่นพ้นตัวรถได้ไม่เกิน 2.50 เมตร


Q รถยนต์ บรรทุกสิ่งของที่มีความสูงจากพื้นทางได้ไม่เกินเท่าไร
A รถยนต์ที่มีความกว้างไม่เกิน 2.30 เมตร บรรทุกสิ่งของได้ไม่เกิน 3 เมตร รถยนต์ที่มีความกว้างเกิน 2.30 เมตร บรรทุกสิ่งของได้ไม่เกิน 3.80 เมตร


Q รถยนต์ บรรทุกสิ่งของที่มีความกว้างไม่เกินเท่าไร
A ไม่เกินความกว้างของตัวรถ


Q ในการบรรทุดคน สัตว์ หรือสิ่งของ ผู้ขับรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร
A ผู้ขับรถจะต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันมิให้คน สัตว์ หรือสิ่งของที่บรรทุกตกหล่น รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจากรถอันอาจจะก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อน รำคาญ ทำให้ทางสกปรก ทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน หรือก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคล หรือทรัพย์สิน


Q รถจักยานยนต์ บรรทุกสิ่งของที่มีน้ำหนักไม่เกินเท่าไร
A ไม่เกิน 50 กิโลกรัม



Q รถจักยานยนต์ บรรทุกสิ่งของที่มีความสูงจากพื้นทางได้ไม่เกินเท่าไร
A ไม่เกิน 1.50 เมตร


Q รถจักรยานยนต์ บรรทุกสิ่งของที่มีขนาดความยาวได้ไม่เกินเท่าไร
A ไม่เกิน 50 เซนติเมตร จากด้านท้ายของตัวรถ


Q รถจักยานยนต์ บรรทุกคนได้จำนวนกี่คน
A ไม่เกิน 1 คน



Q ผู้ขับขี่รถจักยานยนต์ในทางเดินรถ จะต้องปฏิบัติอย่างไร
A ต้องสวมหมวกนิรภัย และขันรถชิดซ้ายในทางเดินรถ



Q บุคคลใดที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องสวมหมวกนิรภัย
A บุคคลทางศาสนา ได้แก่ พระภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช หรือศาสนาที่มีผ้าโพกศรีษะ






วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

การใช้ไฟ หรือเสียงสัญญานของรถ


Q ผู้ขับรถจะต้องเปิดไฟรถในกรณีใด
A ในเวลาที่แสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็นคน รถ สิ่งกีดขวางในทาง โดยชัดแจ้งภายในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร


Q เสียงแตรของรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ จะต้องมีเสียงดังให้ได้ยินในระยะเท่าไร
A ในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร


เสียง หรือสัญญานใดบ้าง ที่ห้ามผู้ขับรถนำมาใช้ในทาง
A
  • ไฟสัญญานแสงวับวาบ
  • เสียงสัญญานไซเรน
  • เสียงสัญญานที่เป็นเสียงนกหวีด
  • เสียงที่แตกพร่า หรือเสียงหลายเสียง
  • เสียงดังเกินควร
รถที่ได้รับอนุญาตให้ติดตั้งใช้ไฟสัญญานวับวาบ เสียงสัญญานไซเรน หรือเสียงสัญญานอย่างอื่น ได้แก่ รถ อะไรบ้าง


  1. รถที่ใช้ในราชการทหาร หรือตำรวจ
  2. รถดับเพลิง หรือรถพยาบาลของทางราชการ
  3. รถอื่นที่ได้รับอนุญาติจากอธิกานบดีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

การใช้เสียงสัญญาน ผู้ขับรถจะใช้ได้ในกรณีใดบ้าง
ใช้ได้เฉพาะเมื่อจำเป็น หรือป้องกันอุบัติเหนุเท่านั้น แต่จะใช้เสียงยาว หรือซ้ำเกินควรไม่ได้




ในการบรรทุกสิ่งของ ยื่นเกินความยางของตัวรถ ผู้ขับรถต้องปฏิบัติอย่างไร
A ในเวลากลางวันต้องติดธงสีแดงที่ปลายสุด ของสิ่งของบรรทุกและในเวลากลางคืนต้องติดไฟสัญญานแสงสีแดงที่ปลายสุด ของสิ่งของบรรทุก




ในการติดธงสีแดง หรือไฟสัญญานแสงสีแดงที่ปลายสุดของสิ่งของที่บรรทุก จะต้องให้ผู้ขับรถที่ตามหลังมามองเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่าเท่าไร
ไม่น้อยกว่า 150 เมตร





ธงสีแดงที่ใช้สำหรับติดที่ปลายสุด ของสิ่งของที่บรรทุกต้องมีลักษณะ และขนาดเท่าไร
ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง  30 เซนติเมตร ยาว 45  เซนติเมตร 


วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

การใช้รถ

Q ห้ามมิให้นำรถลักษณะใดมาใช้ในทาง
A

  • รถที่มีสภาพไม่มั่นคง แข็งแรงหรืออาจเกิดอันตราย หรือทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ผู้ใช้ คนโดยสาร หรือประชาชน
  • รถที่มีเครื่องยนต์ เครื่องอุปกรณ์ หรือส่วนควบคุมไม่คบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
  • รถที่ไม่ติดป้ายทะเบียนรถ
  • รถที่ไม่ชำระภาษีประจำปี
  • รถที่ไม่อาจมองเห็นทางพอแก่ความปลอดภัย
  • รถที่ก่อให้เกิดเสียงอื้ออึง หรือมีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถ
  • รถที่มีล้อ หรือส่วนสัมผัสผิวทางไม่ใช่ยาง เว้นแต่รถที่ใช้ในราชการสงคราม หรือรถที่ใช้ในราชการตำรวจ
  • รถที่มีเครื่องยนต์ก่อให้เกิดก๊าช ฝุ่น ควัน ละออง เคมี เกินเกณฑ์ที่กำหมายกำหนด


Q เสียงเครื่องยนต์ที่ออกจากท่อไปเสีย ต้องเสียงดังไม่เกินที่กฎหมายกำหนดไว้เท่าไร
A เสียงดังไม่เกิน 85 เดซิเบล

คำนิยามเตรียมสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตขับรถ

คำนิยาม

Q คำว่า "การจราจร" หมายความว่าอย่างไร
A การใช้ทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์


Q คำว่า "ทาง" หมายความว่าอย่างไร
A ทางเดินรถ ช่องเดินรถ ช่องเดินรถประจำทาง ไหล่ทาง ทางเท้า  ทางข้าม ทางร่วมแยก ทางลาด ทางโค้ง สะพาน และลานที่ประชาชนใช้ในการจราจร และให้ความหมายรวมถึงทางส่วนบุคคลที่เจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้ในการจราจร หรือที่เจ้าหน้าที่เจ้าพนักงานจราจรได้ประกาศให้เป็นทางตามกฎหมายนี้


Q ทางใดที่ไม่ถือว่าเป็นทางตามกฎหมายจราจรทางบก
A ทางรถไฟ


Q คำว่า "ทางเดินรถ" หมายความว่าอย่างไร
A พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับการเดินรถไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้ หรือเหนือพื้นดิน


Q คำว่า "ช่องเดินรถ" หมายความว่าอย่างไร
A ทางเดินรถที่จัดแบ่งเป็นช่องสำหรับเดินรถ โดยทำเครื่องหมายเป็นเส้น หรือแนวแบ่งช่องไว้